อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ข้อมูลพื้นฐาน
     เทศบาลเมืองแพร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 200-300 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 555 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ และประมาณ 550 กิโลเมตร (ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย) ซึ่งต้องต่อรถเข้ามาในเมืองอีก 24 กิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตตำบลนาจักรและตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตตำบลเหมืองหม้อและตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่
สภาพภูมิประเทศ
     จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่บนที่ราบระหว่างหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ พื้นที่มีลักษณะสูงทางตอนเหนือ และลาดต่ำลงมาทางใต้ ภายในเป็นที่ราบลาดเอียงตามทิศทางการไหลของแม่น้ำยม มีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้โดยมีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 81.49 พื้นที่ราบมีประมาณร้อยละ 18.51 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดมีแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน สภาพภูมิประเทศของจังหวัดแพร่ มี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือแอ่งที่ราบลุ่ม และ ภูเขา ดังนี้

1. แอ่งที่ราบลุ่ม มีลักษณะต่อเนื่องกัน โอบล้อมโดยทิวเขาผีปันน้ำกลาง และทิวเขาผีปันน้ำตะวันออก ซึ่งที่ราบจะถูกแบ่งแยกโดยทิวเขาย่อย และทิวเขาผีปันน้ำกลาง มี 2 แอ่ง คือ แอ่งที่ราบทางตอนเหนือและทางตอนกลางของจังหวัด และแอ่งที่ราบทางตอนล่างของจังหวัด

2. ภูเขา มี 2 ทิวเขาๆ ใหญ่ ๆ คือ ทิวเขาผีปันน้ำกลาง และทิวเขาผีปันน้ำตะวันออก สภาพพื้นที่ของเขตเทศบาลเมืองแพร่เป็นที่ราบเหมือนก้นกะทะตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำในเขตอำเภอปง จังหวัดพะเยา มีลักษณะการไหลเป็นรูปกิ่งก้านสาขาต้นไม้ ในฤดูฝน มักเกิดน้ำหลากไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตเมือง และเกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี ในอดีตเกิดน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดแพร่ ในปี พ.ศ.2538

จำนวน 2 ครั้ง จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนแกรี่และพายุโซนร้อนลูอิส โดยท่วมในเขตเทศบาลสูงถึง 3.53 เมตร ซึ่งได้สร้างความสูญเสียต่อทรัพย์สินของประชาชน และสิ่งสาธารณประโยชน์อย่างมาก และมีห้วยแม่แคม ซึ่งเป็นลำห้วยตามธรรมชาติไหลผ่านทางทิศเหนือของเขตเทศบาล นอกจากนี้ในเขตเทศบาลยังมีลำคลองหรือคูเมืองเก่า คือ คูเมืองประตูใหม่ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำและเป็นแหล่งน้ำเพื่อการดับเพลิง